ทำไมหากอัตราดอกเบี้ยในประเทศลดลง ทำให้กองทุนตราสารหนี้ลดลงค่ะ(คือ ตามอ่านกระทู้ในพันทิพ แต่ไม่เห็นภาพคะ เป็นคนเข้าใจยากนิดหนึ่ง) แล้วนอกจากอัตราดอกเบี้ยในประเทศ ยังมีปัจจัยอื่นอีกไหมที่ีส่งผลต่อกองทุนตราสารหนี้
ขอบคุณค่ะ :D
Printable View
ทำไมหากอัตราดอกเบี้ยในประเทศลดลง ทำให้กองทุนตราสารหนี้ลดลงค่ะ(คือ ตามอ่านกระทู้ในพันทิพ แต่ไม่เห็นภาพคะ เป็นคนเข้าใจยากนิดหนึ่ง) แล้วนอกจากอัตราดอกเบี้ยในประเทศ ยังมีปัจจัยอื่นอีกไหมที่ีส่งผลต่อกองทุนตราสารหนี้
ขอบคุณค่ะ :D
ที่การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีผลกับผลตอบแทน ก็เพราะการปรับอัตราดอกเบี้ย ส่งผลโดยตรงต่อผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาลซึ่งมักเป็นแหล่งลงทุนหลัก ของกองทุนตราสารหนี้ครับ
ซึ่งผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาล มักจะถูกใช้วัดเปรียบเทียบกับผลตอบแทนของตราสารหนี้ที่ออกโดย บลจ. อื่นๆด้วย ทำให้มีการปรับผลตอบแทนตามกันไปหมด
กราฟประกอบแสดงผลตอบแทน ของพันธบัตรรัฐบาล 1 ปี เทียบกับอัตราดอกเบียนโยบาย
http://siamchart.com/fund-chart/T-BI...Interest Rate/
จะเห็นว่าผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาล แปรผันโดยตรงตามอัตตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่รัฐบาลกำหนดครับ
จริงๆยังมีปัจจัยอื่นๆอีก แต่มันค่อนข้างไกลตัวออกไปอีก
เช่น ความเสี่ยงของผู้ออกตราสารหนี้ , ความเสี่ยงทางด้านเศรฐกิจในระดับมหภาค เป็นต้น
ยังไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้องหรือเปล่า
1 สมมติ หาก กนง.ให้ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น แล้วมันจะทำให้ราคาพันธบัตรลดลง เพราะเนื่องจาก อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วมันคงที่ เวลาขายออกไปก็ต้องขายลดหน้าตั๋วมากขึ้น (ถูกต้องไหมคะ) แล้วที่นี้ ก็จะไปกระทบกองตราสารหนี้ที่ถือพันธบัตร ทำให้ nav ลดลง ใช่หรือเปล่า
2 แล้วหาก ไม่มีนโยบายใดๆๆออกมาเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ปล่อยคงที่แบบนี้ กองตราสารที่จะเข้าไปลงทุนมันก็จะนิ่งๆๆ เหมือนกันหรือเปล่าคะ
3 ส่วนเรื่องความเสี่ยงด้านมหภาค หมายถึงต่างชาติโยกเงินเข้ามาซื้อหรือเปล่า
4พอดีสนใจจะซื้อสะสมกองตราสารหนี้คะ เลยอยากหาข้อมูลเยอะหน่อย กองที่ดูอยู่จะถือ พันธบัตร และหุ้นกู้ ประมาณ 1-5ปี แบบนี้เป็นกองระยะสั้นหรือยาวคะ แล้วประเภทระยะสั้น ตั้งถือพวกพันธบัตร ประมาณกี่ปี ระยะยาว ประมาณกี่ปี
ปล กราฟที่ให้ดู เห็นเส้นดอกเบี้ยนโยบายมันเป็นเส้นตรง ส่วนเส้นสีแดงมันขึ้นเหนือสีเหลือง แล้วลงต่ำกว่าสีเหลือง ไม่ค่อยเข้าใจกราฟคะ
ขอบคุณค่ะ:)
1 สมมติ หาก กนง.ให้ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น แล้วมันจะทำให้ราคาพันธบัตรลดลง เพราะเนื่องจาก อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วมันคงที่ เวลาขายออกไปก็ต้องขายลดหน้าตั๋วมากขึ้น (ถูกต้องไหมคะ) แล้วที่นี้ ก็จะไปกระทบกองตราสารหนี้ที่ถือพันธบัตร ทำให้ nav ลดลง ใช่หรือเปล่า
ตอบ ไช่ครับ พอเอามาเทียบกับราคาตลาดที่ขายกันอยู่ในปัจจุบัน มันจะกลับกันกับผลตอบแทนจริงๆ ถ้าขายก่อนจะครบกำหนด ณ.เวลานั้นๆ
แต่ถ้าเป็นตราสารหนี้ ที่ระบุระยะเวลาถือครองตายตัว ไม่สามารถซื้อหรือขายได้จนกว่าจะครบกำหนด ผลตอบแทนก็จะไม่เปลี่ยนแปลงไปครับ (แต่ถ้าคำนวนผลตอบแทนราคาขณะขั้นๆก็จะมีขึ้นลงไปตามราคาตลาด แต่เวลาครบกำหนดกงอทุนก็ได้ตามที่ระบุตอนประกาศขายครับ)
2 แล้วหาก ไม่มีนโยบายใดๆๆออกมาเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ปล่อยคงที่แบบนี้ กองตราสารที่จะเข้าไปลงทุนมันก็จะนิ่งๆๆ เหมือนกันหรือเปล่าคะ
ตอบ หมายถึงจะไม่ขึ้นลงครับ แต่ค่อยๆขึ้นไปตามอัตราผลตอบแทนที่คาดการณ์ใว้ ถ้าพลอทกราฟก็จะเป็นเส้นเฉียง 45 องศาขึ้นไป ประมาณนั้นครับ
3 ส่วนเรื่องความเสี่ยงด้านมหภาค หมายถึงต่างชาติโยกเงินเข้ามาซื้อหรือเปล่า
ตอบ เกี่ยวกับด้านเศรฐกิจระหว่างประเทศ ค่าเงิน หรืออื่นๆที่มีผลกระทบต่อระบบเศรฐกิจในระดับประเทศน่ะครับ ซึ่งค่อนข้างเป็นปัจจัยที่คาดการณ์ยากและเป็นเรื่องใหญ่จริงๆ ซึ่งคงไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆน่ะครับ
4 พอดีสนใจจะซื้อสะสมกองตราสารหนี้คะ เลยอยากหาข้อมูลเยอะหน่อย กองที่ดูอยู่จะถือ พันธบัตร และหุ้นกู้ ประมาณ 1-5ปี แบบนี้เป็นกองระยะสั้นหรือยาวคะ แล้วประเภทระยะสั้น ตั้งถือพวกพันธบัตร ประมาณกี่ปี ระยะยาว ประมาณกี่ปี
ตอบ สำหรับผมมากกว่า 1 ปี ก็ถือว่ายาวแล้วละครับ ถ้าพึ่งเริ่มลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ และไม่อยากเสี่ยงมากแนะนำให้เลือกกองทุนแบบที่มีระยะเวลาลงทุนและผลตอบแทนที่แน่นอน จะดีกว่านะครับ
กองพวกนี้จะมีเปิดขายเรื่อยๆ ทุกๆบลจ. สามารถดูข่าวกองทุนเปิดใหม่ได้ที่นี่นะครับ
http://siamchart.com/fund-news/
ปล กราฟที่ให้ดู เห็นเส้นดอกเบี้ยนโยบายมันเป็นเส้นตรง ส่วนเส้นสีแดงมันขึ้นเหนือสีเหลือง แล้วลงต่ำกว่าสีเหลือง ไม่ค่อยเข้าใจกราฟคะ
ตอบ กราฟนั้นต้องดูย้อนไปหลายๆปีหน่อยนะครับ กด config แล้วเลือก more data แล้วกด save แล้วโหลดกราฟใหม่ จะเห็นข้อมูลมากขึ้นครับ
ขอบคุณมากค่ะ ตัวกองปิดมีเริ่มลงทุนแล้วค่ะ ที่นี่นั่งดูในเวบแล้วเห็นจัดอันดับกองตราสารหนี้แบบเปิด ผลตอบแทนดูน่าสนใจ แล้วคิดว่ามันไม่เสี่ยงเท่ากองทุนหุ้น ที่นี่ขอถามเพิ่ม หากเราสนใจกองตราสารหนี้แบบเปิด เรายังต้องศึกษาข้อมูลอะไรเพิ่มเติมอีกบ้างค่ะ
ขอบคุณค่ะ
ถ้าสนใจกองตราสารหนี้แบบเปิด ก็ดูเหมือนที่เขียนบอกไปนั่นละครับ
หลักๆที่ต้องดูคือแน้วโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายครับ เพราะมีผลกับผลตอบแทนของกองทุนโดยตรง
อีกส่วนคือ ดูว่าตัวกองทุนมีนโยบายลงทุนอย่างไรบ้าง มีการแบ่งสัดส่วนการลงทุนเป็นยังไง ความเสี่ยงของการลงทุน และมีความน่าเชื่อถือแค่ใหน
แล้วนำมาเทียบกับผลตอบแทนที่ได้ ว่าเหมาะสมกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นใหม
ยกตัวอย่างกอง SMART นะครับ
http://siamchart.com/fund-chart/SMART/
ให้กดไปที่ รูป http://siamchart.com/images/pdf.png เพื่ออ่านรายละเอียดหนังสือชี้ชวนของกองทุน
ขอบคุณค่ะ บังเอิญมากที่คุณยกตัวอย่างมาให้เป็นตัวที่เรามีอยู่ในใจ และดูทั้งหนังสือชี้ชวน รวมถึงตามดูราคามาตั้งแต่ยังไม่สิ้นปีเลยค่ะ
ถามเพิ่มนะคะ อันนี้ไม่เกี่ยวกับกองตราสารหนี้ แต่เราเห็นกองทริกเกอร์ออกมาเยอะมาก แล้ววันนี้เรานั่งดูกราฟจากเวบ เราเห็นกองของกรุงไทยทริกเกอร์ 7 และ 8 มันยังไม่ปิดกอง ที่สงสัยเพราะเราเข้าไปอ่านหนังสือชี้ชวนของกองนี้ บอกว่า หากผลตอบแทนเกิน 8% ซึ่งก็คือ ประมาณ 10.80 ติดต่อกัน 5 วัน ก็จะมีการยกเลิกกอง แต่ที่เราเห็น ราคามันไปตั้ง 11 บาทกว่า ทำไมเค้าไม่ปิดกองค่ะ อันนี้แค่สงสัยเฉยๆๆค่ะ
ต้องดูที่หนังสือชี้ชวนครับ ยกตัวอย่าง http://siamchart.com/fund-chart/KT-TRIGGER7/
เห็นเขียนใว้ว่า มูลค่าหน่วยลงทุน ไม่ต่ำกว่า 111% หรือ หน่วยลงทุนต้องเท่ากับ 11.1 เป็นเวลาสามวันทำการติดกันนะครับ
ซึ่งกองทุนจะให้ผลตอบแทนไม่ต่ำกว่า 108% หรือ เงินต้น + ผลตอบแทน 8%
ส่วนที่เกิน 3% จะเป็นค่าจัดการกองทุน หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆครับ
อ้อ เข้าใจแล้วค่ะ ขอบคุณมากค่ะ