Page 1 of 2 12 LastLast
Results 1 to 10 of 11

Thread: ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับกองทุนที่มีนโยบายปันผล ที่หลายๆคนมักเข้าใจผิด

Hybrid View

  1. #1
    Administrator
    Join Date
    Sep 2010
    Posts
    1,791

    ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับกองทุนที่มีนโยบายปันผล ที่หลายๆคนมักเข้าใจผิด

    หลังจากตอบคำถามหลายๆคนที่ถามปัญหาเกี่ยวกับกองทุนปันผล พบว่าหลายๆคนยังเข้าใจคลาดเคลื่อน เกี่ยวกับกองทุนที่มีนโยบายปันผลอยู่
    เช่น คิดว่าควรจะซื้อกองทุน หลังจากกองทุนปันผลออกมาแล้วเพื่อให้ได้ nav ที่ถูกเป็นต้น ซึ่งก็มีส่วนถูกอยู่บ้าง ในแง่ที่เงินปันผลนั้นจะต้องโดนหักภาษีไปด้วย แต่ไม่ได้มีผลโดยตรงกับการที่ราคากองทุนขึ้นหรือลง


    เงินปันผลหุ้น มาจากผลกำไรจากการดำเนินงาน ราคาอาจจะเด้งขึ้นหรือลงลึกไปอีก หลังจากปันผลก็ใด้เนื่องจากความคาดหวังและความกลัวของตลาด

    แต่กองทุนปันผลนั่นเงินที่ปันผล มาจากการหักจากมูลค่าของกองทุนโดยตรง หรือหักจาก capital gain นั่นเอง และมูลค่าของกองทุนนั้นก็จะลดลงไปตามเงินที่ปันผล ไม่มีทางที่จะเพิ่มขึ้นไปมากกว่า หรือลดลงไปน้อยกว่า เมื่อมีคนซื้อหรือขายกองทุนมากๆเหมือนกับหุ้น ราคาที่เปลี่ยนไปหลังจากปันผลออกมาแล้ว มีแค่ส่วนที่ขึ้นลงของตลาดหุ้นหรือ SET Index เท่านั้น

    ตัวอย่างการปันผลของกองทุน

    1. เราซื้อกองทุนหน่วยละ 10 บาท ไป 1 หน่วย กองทุนจะมีเงิน 10 บาท
    2. กองทุนเอาเงินไปซื้อหุ้นมูลค่า 1 บาท จำนวน 10 หุ้น
    3. ต่อมาหุ้นขึ้นเป็น 1.2 บาท กองทุนก็มีมูลค่า 12 บาท (10 x 1.2)
    4. คราวนี้กองทุนอยากจ่ายปันผล 1.2 บาท จะทำอย่างไร ก็ต้องขายหุ้นออกไป 1 หุ้นที่ราคา 1.2 บาท ก็จะได้เงินสดเพื่อปันผลออกมา
    5. ซึ่งหมายความว่า กองทุนมีมูลค่าลดลงเป็น 10.8 บาท (หุ้นคงเหลือ 9 x ราคาต่อหุ้น 1.2)
    ปล. ในความเป็นจริงเงินที่ปันผลออกมา อาจไม่ได้มาจากกำไรจากการขายหุ้นเพียงอย่างเดียว อาจจะมาจากเงินสดสะสมที่มีอยู่จากการใด้รับปันผลจริงๆมาจากหุ้นก็ได้ (ซึ่งในความเป็นจริงจะมีหุ้นอยู๋ในพอทเยอะมาก)

    ซึ่งต่างกับการที่เราซื้อหุ้นเองเพราะจำนวนหุ้นที่เราถือไม่ได้ลดลงไปตามเงินที่ปันผลออกมา


    ความเข้าใจผิดอีกอย่างหนึ่งของกองทุนรวมปันผลคือ การที่คิดว่ากองทุนปันผลจะเลือกเอาแต่กองทุนที่มีการปันผลเท่านั้นมารวมกัน และกองทุนรวมที่ไม่มีปันผลก็กลายเป็นกองทุนที่ซื้อหุ้นไม่มีปันผลไป


    ซึ่งในความเป็นจริงแล้วกองทุน อาจจะมีการลงทุนในหุ้นที่ดีมีการเติบโตหรือจะลงทุนในหุ้นที่มีปันผลก็ใด้ เพียงแต่ว่ากองทุนจะมีนโยบายการจ่ายปันผลออกมาหรือเปล่าเท่านั้นเอง โดยที่เวลาที่ได้รับเงินปันผลของแต่ละหุ้นมา ก็จะนำไปรวมกับมูลค่าของกองทุน ซึ่งบางกองทุนที่มีผลงานกองทุนดี แต่กองทุนก็อาจจะไม่ปันผลออกมาเลยก็ได้ (อันนี้อยู่ที่นโยบายของแต่ละกองทุน) กลับกัน ถึงกองทุนทำผลงานไม่ดี แต่อยากจะสั่งปันผลออกมาก็ยังทำได้...

    ดังนั้นการมองที่จำนวนเงินปันผลอย่างเดียว ไม่น่าจะใช่วิธีวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานของกองทุนที่ถูกต้องนักนะครับ

  2. #2
    Administrator
    Join Date
    Sep 2010
    Posts
    1,791
    CASE STUDY 1 กองทุนที่ปันผลเยอะกว่า ย่อมแสดงว่าผลงานดีกว่า จริงหรือ?
    ติต่างว่า กองทุน A และ B ทั้งสองกองทุน เริ่มขายหน่วยลงทุนวันที่ 2012-01-01
    โดยขายหน่วยลงทุน หน่วยละ 10 บาทเท่ากัน ทั้งนี้ CASE STUDY นี้ไม่ได้มีการหักภาษีเงินปันผลเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ

    กองทุน A ในหนึ่งปี จ่ายปันผลออกมาดังนี้
    2012-03-01 1 บาท
    2012-06-01 1 บาท
    2012-09-01 1 บาท
    2012-12-01 1 บาท
    เวลาสิ้นปี 2012 NAV ของหน่วยลงทุน A คือ 20 บาท

    กองทุน B ในหนึ่งปี จ่ายปันผลออกมาดังนี้
    2012-06-01 2 บาท
    เวลาสิ้นปี 2012 NAV ของหน่วยลงทุน B คือ 22 บาท

    ถามว่ากองทุน A ทำผลงานได้ดีกว่ากองทุน B หรือเปล่า เพราะว่าปันผลออกมาตั้ง 4 บาท
    หรือว่ากองทุน B ทำผลงานได้ดีกว่า เพราะ NAV ราคาตั้ง 22 บาท

    คำตอบคือเปล่าครับ ทั้งสองกองมีผลการดำเนินงานเท่าๆกัน
    เพราะอะไร? เพราะเงินปันผล คือเงินส่วนที่หักออกมาจาก NAV หรือ Capital Gain ไงครับ
    กอง A ซื้อมา 10 ท้ายปี 20 คิดเป็นผลกำไร 10 บาท บวกเงินปันผลรวม 4 กลายเป็นผลตอบแทนรวมทั้งปี 14
    กอง B ซื้อมา 10 ท้ายปี 22 คิดเป็นผลกำไร 12 บาท บวกเงินปันผลรวม 2 กลายเป็นผลตอบแทนรวมทั้งปี 14 เท่ากัน

    พอลองมาคำนวนดูแล้ว น่าจะเข้าใจมากขึ้นใช่ใหมครับ

  3. #3
    Administrator
    Join Date
    Sep 2010
    Posts
    1,791
    CASE STUDY 3 ซื้อกองทุนหลังปันผล เพื่อให้ได้ราคาถูกลง จริงหรือ?
    CASE STUDY นี้ไม่ได้มีการหักภาษีเงินปันผลเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
    โดยติต่างว่า SET Index หรือหน่วยอ้างอิง NAV ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงราคาใดๆในวันที่ 2012-03-01 และ 2012-03-02
    และสมมุติให้มีการซื้อหน่วยลงทุน แล้วทำการขายหน่วยลงทุนเวลาสินปี

    กองทุน A ในหนึ่งปี จ่ายปันผลออกมาดังนี้
    2012-03-01 1 บาท
    วันที่ 2012-03-01 NAV ของหน่วยลงทุน A มีค่า 20 บาท
    วันที่ 2012-03-02 NAV ของหน่วยลงทุน A มีค่า 19 บาท
    พอสิ้นปี NAV ของกองทุน A กลายเป็น 30 บาท

    ถามว่า ถ้าซื้อหน่วยลงทุนหลังปันผลคือวันที่ 2012-03-02 จะสามารถซื้อหน่วยลงทุนได้ถูกกว่าการซื้อหน่วยลงทุนก่อนปันผลหรือเปล่า
    เพราะราคาต่อหน่วยถูกกว่า ทำไห้ได้จำนวนหน่วยลงทุนมากกว่า
    คำตอบคือผิดครับ เพราะถึงเราจะซื้อก่อนปันผล แต่เราก็ยังได้เงินปันผลคืนมาเท่ากับมูลค่าส่วนต่างที่เราซื้อหน่วยลงทุนไปอยู่ดี ซึ่งทำให้ต้นทุนการซื้อหน่วยลงทุน เท่ากัน

    ซื้อก่อนปันผล 20 บาท ปลายปีขายได้ 30 คิดเป็นผลกำไร 10 บาท บวกเงินปันผลรวม 1 บาท กลายเป็นผลตอบแทนรวม 11 บาท
    ซื้อหลังปันผล 19 บาท ปลายปีขายได้ 30 คิดเป็นผลกำไร 11 บาท ไม่ได้เงินปันผล กลายเป็นผลตอบแทนรวม 11 บาท เท่ากัน
    ปล. ในความเป็นจริงคุณจะต้องเสียภาษีเงินปันผลด้วย จึงทำให้การซื้อหลังปันผลได้ประโยชน์กว่า

  4. #4
    Administrator
    Join Date
    Sep 2010
    Posts
    1,791
    แถม CASE STUDY เกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผลของกองทุน

    สูตรการคำนวนผลตอบแทนรวมคือ
    (หน่วยลงทุนของปีล่าสุด + (เงินปันผลทั้งหมด - ภาษี)) - หน่วยลงทุนของปีที่ต้องการเปรียบเทียบย้อนหลัง = capital gain + เงินปันผลรับจริง

    ตัวอย่างวิธีคำนวนอย่างละเอียด เผื่อใครสงสัยว่ามีวิธีคำนวนผลตอบแทนยังไงนะครับ (ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้ที่ http://www.thaimutualfund.com/AIMC/aimc_navCenter.jsp)

    ======================================================
    HI-DIV
    2013-01-04 | 11.4821 << NAV ปัจจุบัน
    2010-01-04 | 11.9903 << NAV ย้อนหลัง
    ================= ตารางเงินปันผล ==========================
    2010-01-22 | dividend = 1.50 | total_div = 1.5
    2010-04-29 | dividend = 0.50 | total_div = 2
    2010-07-30 | dividend = 1.00 | total_div = 3
    2010-10-20 | dividend = 1.25 | total_div = 4.25
    2011-02-11 | dividend = 1.17 | total_div = 5.42
    2011-05-04 | dividend = 1.40 | total_div = 6.82
    2012-02-13 | dividend = 0.70 | total_div = 7.52
    2012-04-05 | dividend = 1.00 | total_div = 8.52
    2012-07-23 | dividend = 0.65 | total_div = 9.17
    2012-09-20 | dividend = 0.75 | total_div = 9.92
    2012-12-17 | dividend = 0.75 | total_div = 10.67
    ======================================================
    รวมเงินปันผล = 10.67
    คำนวนตามสูตร
    (11.4821 + (10.67 - 10%)) - 11.9903 = 9.0948
    คิดผลตอบแทนเป็น เปอเซ็น
    (9.0948 x 100) / 11.9903 = 75.8513 %
    ======================================================
    ======================================================
    KFSDIV
    2013-01-04 | 15.6869 << NAV ปัจจุบัน
    2010-01-04 | 10.4448 << NAV ย้อนหลัง
    ================= ตารางเงินปันผล ==========================
    2010-02-12 | dividend = 0.30 | total_div = 0.3
    2010-05-17 | dividend = 0.50 | total_div = 0.8
    2010-08-11 | dividend = 0.50 | total_div = 1.3
    2010-11-08 | dividend = 1.00 | total_div = 2.3
    2011-02-14 | dividend = 0.50 | total_div = 2.8
    2011-05-13 | dividend = 0.50 | total_div = 3.3
    2011-08-11 | dividend = 0.50 | total_div = 3.8
    2011-11-10 | dividend = 0.50 | total_div = 4.3
    2012-02-14 | dividend = 0.50 | total_div = 4.8
    2012-05-14 | dividend = 0.50 | total_div = 5.3
    2012-08-10 | dividend = 0.50 | total_div = 5.8
    2012-11-08 | dividend = 1.00 | total_div = 6.8
    ======================================================
    รวมเงินปันผล = 6.8
    คำนวนตามสูตร
    (15.6869 + (6.8 - 10%)) - 10.4448 = 11.3621
    คิดผลตอบแทนเป็น เปอเซ็น
    (11.3621 x 100) / 10.4448 = 108.7824 %
    ======================================================

    CASE STUDY ด้านบน สมมุติว่านักลงทุน ได้ลงทุนในกองทุนย้อนหลังกลับไปเมื่อสามปีที่แล้วในทั้งสองกองทุนเท่าๆกัน พอในปัจจุบันได้ทำการสั่งขายกองทุนทั้งสองกองพร้อมๆกัน เมื่อนำผลตอบแทนมาเทียบกัน จะมีวิธีคำนวนตังตารางด้านบน

    จากการคำนวน จะเห็นว่าเงินปันผลรวมของ HI-DIV เยอะกว่า KFSDIV เกือบเท่านึง
    แต่... พอคำนวน performance จริงๆ กลับออกมาน้อยกว่าพอสมควร

    นี่คือสาเหตุที่ผมบอกว่า ไม่ควรมองไปที่จำนวนเงินที่ปันผลเพียงอย่างเดียว
    การปันผลออกมาเยอะ ไม่ได้เป็นข้อบ่งชี้ว่ากองทุนนั้น ทำผลงานได้ดีกว่าอีกกอง...
    ทั้งนี้การคำนวนดังตัวอย่าง ไม่ได้คำนวนถึงวิธีการ reinvest เมื่อได้เงินปันผลกลับมา ซึ่งแน่นอนว่าการปันผลออกมามากกว่า ย่อมมีผลต่อ performance ของกองทุน

  5. #5
    Administrator
    Join Date
    Sep 2010
    Posts
    1,791
    CASE STUDY 2 ซื้อกองทุนที่หน่วยลงทุนถูกกว่า เพื่อจะได้จำนวนหน่วยลงทุนเยอะกว่า ดีกว่า จริงหรือ?
    ติต่างว่า กองทุน A และ B ทั้งสองกองทุน เริ่มขายหน่วยลงทุนวันที่ 2012-01-01
    โดยสมมุตว่าให้ทำการซื้อกองทุนทั้งสองกองที่ต้นปี แล้วทำการขายกองทุนทั้งสองกองพร้อมๆกันที่ปลายปี

    กองทุน A NAV วันที่ 2012-01-01 คือ 10 บาท
    พอสิ้นปี NAV ของกองทุน A กลายเป็น 20 บาท

    กองทุน B NAV วันที่ 2012-01-01 คือ 20 บาท
    พอสิ้นปี NAV ของกองทุน B กลายเป็น 40 บาท

    ถามว่า ซื้อกองทุน A น่าจะดีกว่าใช่ใหม่ เพราะราคาหน่วยลงทุนถูก ต้องซื้อหน่วยลงทุนได้มากกว่ากองทุน B แน่ๆ
    หรือว่ากองทุน B ทำผลงานได้ดีกว่ากองทุน A ใช่หรือไม่ เพราะ NAV สิ้นปีราคามากกว่าเท่านึง
    คำตอบคือผิดครับ ทั้งสองกองทุนทำผลงานได้เท่าๆกัน

    สมมุติว่าคุณมีเงินลงทุน 100
    กองทุน A ซื้อมาใด้ 10 หน่วย ราคาหน่วยละ 10 บาท ปลายปีขายได้ 200 บาท ในราคาหน่วยละ 20 บาท (10 x 20) คิดเป็นผลกำไร 100 บาท หรือ 100%
    กองทุน B ซื้อมาใด้ 5 หน่วย ราคาหน่วยละ 20 บาท ปลายปีขายได้ 200 บาท ในราคาหน่วยละ 40 บาท (5 x 40) คิดเป็นผลกำไร 100 บาท หรือ 100% เท่ากัน
    ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การใด้หน่วยลงทุนมากขึ้น ไม่ใด้หมายถึงผลกำไรที่มากขึ้นตามไปด้วย

  6. #6
    ขอบคุณคุณคุราคุงที่ "ปันความรู้" ออกมาครับ
    พิมพ์เยอะขนาดนี้ เมื่อยนิ้วแทนเลยครับ
    ^_^

  7. #7
    Junior Member
    Join Date
    Sep 2012
    Posts
    3
    ขอบคุณมากครับ ทุก Case Study ตอบโจทย์มากๆ โดยเฉพาะ Case study สุดท้าย จัดการเหล่าหมกหมุ่นในเงินปันผลซะกระเจิงเลย

  8. #8
    Administrator
    Join Date
    Sep 2010
    Posts
    1,791
    CASE STUDY 4 นำเงินปันผลไป reinvest (กลับไปซื้อหน่วยลงทุนใหม่) แล้วได้มูลค่าหน่วยลงทุนที่ถูกลง เพราะได้หน่วยลงทุนเพิ่มขึ้น จริงหรือ?
    ติต่างว่า กองทุน A และ B ทั้งสองกองทุน เริ่มขายหน่วยลงทุนวันที่ 2012-01-01
    โดยขายหน่วยลงทุน หน่วยละ 10 บาทเท่ากัน ทั้งนี้ CASE STUDY นี้ไม่ได้มีการหักภาษีเงินปันผลเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
    โดยมีการลงทุนโดยซื้อหน่วยลงทุนทั้งสองกองทุนโดยลงทุนกองละ 1000 บาท และจัดการดังนี้

    กองทุน A เป็นกองทุนที่ไม่มีการปันผล
    ซื้อหน่วยลงทุนราคา 10 บาท ได้จำนวน 100 หน่วย
    2012-06-01 NAV ราคา 15 บาท
    เวลาสิ้นปี 2012 NAV ของหน่วยลงทุน A คือ 20 บาท

    กองทุน B เป็นกองทุนปันผล
    ซื้อหน่วยลงทุนราคา 10 บาท ได้จำนวน 100 หน่วย
    2012-06-01 กองทุนปันผลออกมา 5 บาท NAV ลดลงเหลือ 10 บาท (จากก่อนปันผล 15 บาทเท่ากองทุน A)
    ใด้เงินปันผลเท่ากับ 100 x 5 = 500 บาท เอาไปซื้อหน่วยลงทุนหน่วยละ 10 ได้ 50 หน่วย
    หน่วยลงทุนรวม 150 หน่วย
    ส่วน NAV สิ้นปีของกองทุน B จะคำนวนให้ดูด้านล่าง

    ถามว่าซื้อกองทุน B ดีกว่าหรือเปล่า เพราะได้หน่วยลงทุนเพิ่มขึ้นเพราะเอาไป reinvest หลังปันผล? แถมหน่วยลงทุนยังถูกลงด้วยทำให้เวลาซื้อเพิ่มไม่ต้องซื้อแพง?
    คำตอบคือไม่ครับ ทั้งสองกองทุนทำผลงานได้เหมือนๆกัน จำนวนหน่วยที่เพิ่มขึ้นไม่ได้มีผลทำให้เราได้กำไรมากขึ้น

    เพราะอะไร?
    เพราะเวลากองทุนเปลี่ยนแปลง NAV ไม้ได้เปลี่ยนแปลงเป็นหน่วย แต่เปลี่ยนแปลงเป็น %
    ถ้ากลางปี กอง A เพิ่มจาก 15 เป็น 20 ตอนปลายปี จะเท่ากับว่ากอง A เพิ่มขึ้น (5 x 100) / 15 = 33.33%
    ดังนั้นหลังจากกอง B ปันผลออกมาจนเหลือ 10 บาทตอนกลางปี กองทุนจะไม่เพิ่มอีก 5 หน่วยเป็น 15 บาท เท่ากอง A
    แต่จะเพิ่มขึ้น 33.33% ก็คือจาก 10 กลายเป็น 13.33 บาท

    ทีนี้ลองมาคำนวนผลตอบแทนถ้าเกิดนำกองทุนทั้งสองกองมาขาย ตอนสิ้นปี
    กอง A 100 x 20 = 2000 บาท
    กอง B 150 x 13.33 = 1999.5 บาท (ที่หายไป 0.5 บาทมาจากการปัดเศษของ 33.33...% ลง)

    จะเห็นว่าทั้งสองกองทุนทำผลงานได้เท่าๆกัน แม้กอง B จะได้หน่วยลงทุนมากกว่าเดิม เพราะมูลค่าของกองทุนถูกลดลงไปเมื่อเกิดการปันผล แม้จำนวนหน่วยจะเท่าเดิมก็ตาม

    NOTE:
    แต่ในความเป็นจริงต้องมีการหักภาษีแน่นอน รวมถึงการปันผลจะลด performance ของกองทุนลงโดยตรง
    ซึ่งจะทำให้วิธี reinvest เงินปันผลกองทุน B ไม่มีทางทำผลงานได้เท่ากองทุน A แน่นอน

    เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มักมีการเข้าใจผิดกันกันเสมอๆ เพราะคิดว่าตัวเองได้หน่วยลงทุนเพิ่มเป็นการลดต้นทุน
    ซึ่งจริงๆแล้ววิธีการ reinvert เงินปันผล มันไม่ได้ทำให้มูลค่าเพิ่ม แต่มันลดลงไปจากภาษีปันผลต่างหาก
    หรือต่อให้คุณไม่ต้องเสียภาษีปันผล คุณก็จะไม่ได้อะไรเพิ่มเติมจากวิธีการทำแบบนี้

  9. #9
    Administrator
    Join Date
    Sep 2010
    Posts
    1,791
    CASE STUDY 5 การปันผลออกมา ดีกว่าการสั่งขายกองทุนออกมาเอง จริงหรือ?
    ติต่างว่า กองทุน A และ B ทั้งสองกองทุน เริ่มขายหน่วยลงทุนวันที่ 2012-01-01
    โดยขายหน่วยลงทุน หน่วยละ 10 บาทเท่ากัน สมมุติให้ค่าธรรมเนียมขายกองทุน A และ B คือ 1% เท่าๆกัน และทั้งสองกองทุน ไม่มีค่าธรรมเนียมซื้อ
    ทั้งนี้ CASE STUDY นี้ต้องการคำนวนเกี่ยวกับการปันผล เลยจำเป็นต้องแสดงผลต่างที่ถูกหักภาษีจากการปันผล และค่าธรรมเนียมขายไปด้วย
    โดยมีการลงทุนโดยซื้อหน่วยลงทุนทั้งสองกองทุนโดยลงทุนกองละ 1000 บาท และจัดการดังนี้


    กองทุน A เป็นกองทุนที่ไม่มีการปันผล
    ซื้อหน่วยลงทุนราคา 10 บาท ได้จำนวน 100 หน่วย
    2012-06-01 NAV ราคา 15 บาท
    เวลาสิ้นปี 2012 NAV ของหน่วยลงทุน A คือ 20 บาท


    กองทุน B เป็นกองทุนปันผล
    ซื้อหน่วยลงทุนราคา 10 บาท ได้จำนวน 100 หน่วย
    2012-06-01 กองทุนปันผลออกมา 5 บาท NAV ลดลงเหลือ 10 บาท (จากก่อนปันผล 15 บาทเท่ากองทุน A)
    ใด้เงินปันผลเท่ากับ 100 x 5 = 500 บาท หักภาษีเงินปันผล 10% จะได้เงินจริงเท่ากับ 450 บาท
    เวลาสิ้นปี 2012 NAV ของหน่วยลงทุน A คือ 13.33 บาท (ดูวิธีคำนวนจาก case study 4)


    ถามว่าซื้อกองทุน B ดีกว่าหรือเปล่า เพราะไม่ต้องมานั่งขายกองทุนเอง และได้เงินปันผลมาฟรีๆ?
    คำตอบคือไม่ครับ การขายกองทุนออกมาเองเสียค่าธรรมเนียมน้อยกว่าเสียภาษีปันผลเยอะครับ


    เพราะอะไร?
    ยกตัวอย่างนะครับ ถ้าคุณต้องการเงินออกมาใช้จ่ายเท่าๆกับกองทุน B ปันผลออกมาหักภาษีคือ 450 บาท
    ราคาขายคืนหน่วยลงทุน A จาก 15 บาท หักค่าธรรมเนียมขาย 1% เป็น 14.85 บาท
    คุณก็ต้องขายกองทุน A ออกมา 450 / 14.85 = 30.31 หน่วย (ผมปัดหน่วยขึ้นพื่อให้ใด้จำนวนเกิน 450)
    ซึ่งจะเท่ากับว่ากองทุน A เหลือหน่วยลงทุนแค่ 100 - 30.31 = 69.69 ตอนสิ้นปี


    ทีนี้ลองมาคำนวนผลตอบแทนถ้าเกิดนำกองทุนทั้งสองกองมาขาย ตอนสิ้นปี
    ราคาขายคืนหน่วยลงทุน A จาก 20 บาท หักค่าธรรมเนียมขาย 1% กลายเป็น 19.8 บาท
    กอง A 69.69 x 19.8 = 1379.862 บาท
    ราคาขายคืนหน่วยลงทุน B จาก 13.33 บาท หักค่าธรรมเนียมขาย 1% กลายเป็น 13.20 บาท
    กอง B 100 x 13.20 = 1320 บาท


    จะเห็นว่าแม้กองทุน B เหลือหน่วยลงทุนสิ้นปี มากกว่ากองทุน A แต่ไม่ได้หมายความว่ามูลค่าที่เหลือของกองทุน B จะมากกว่าไปด้วย

  10. #10
    Junior Member
    Join Date
    Jul 2019
    Posts
    2

    Re: ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับกองทุนที่มีนโยบายปันผล ที่หลายๆคนมักเข้าใจผิด

    ถ้าจะซื้อเกรงกำไรผมว่าพวกน้ำมันน่าจะโอเคนะครับ

    joker123

Posting Permissions

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •