Results 1 to 10 of 11

Thread: ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับกองทุนที่มีนโยบายปันผล ที่หลายๆคนมักเข้าใจผิด

Hybrid View

  1. #1
    Administrator
    Join Date
    Sep 2010
    Posts
    1,791
    CASE STUDY 1 กองทุนที่ปันผลเยอะกว่า ย่อมแสดงว่าผลงานดีกว่า จริงหรือ?
    ติต่างว่า กองทุน A และ B ทั้งสองกองทุน เริ่มขายหน่วยลงทุนวันที่ 2012-01-01
    โดยขายหน่วยลงทุน หน่วยละ 10 บาทเท่ากัน ทั้งนี้ CASE STUDY นี้ไม่ได้มีการหักภาษีเงินปันผลเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ

    กองทุน A ในหนึ่งปี จ่ายปันผลออกมาดังนี้
    2012-03-01 1 บาท
    2012-06-01 1 บาท
    2012-09-01 1 บาท
    2012-12-01 1 บาท
    เวลาสิ้นปี 2012 NAV ของหน่วยลงทุน A คือ 20 บาท

    กองทุน B ในหนึ่งปี จ่ายปันผลออกมาดังนี้
    2012-06-01 2 บาท
    เวลาสิ้นปี 2012 NAV ของหน่วยลงทุน B คือ 22 บาท

    ถามว่ากองทุน A ทำผลงานได้ดีกว่ากองทุน B หรือเปล่า เพราะว่าปันผลออกมาตั้ง 4 บาท
    หรือว่ากองทุน B ทำผลงานได้ดีกว่า เพราะ NAV ราคาตั้ง 22 บาท

    คำตอบคือเปล่าครับ ทั้งสองกองมีผลการดำเนินงานเท่าๆกัน
    เพราะอะไร? เพราะเงินปันผล คือเงินส่วนที่หักออกมาจาก NAV หรือ Capital Gain ไงครับ
    กอง A ซื้อมา 10 ท้ายปี 20 คิดเป็นผลกำไร 10 บาท บวกเงินปันผลรวม 4 กลายเป็นผลตอบแทนรวมทั้งปี 14
    กอง B ซื้อมา 10 ท้ายปี 22 คิดเป็นผลกำไร 12 บาท บวกเงินปันผลรวม 2 กลายเป็นผลตอบแทนรวมทั้งปี 14 เท่ากัน

    พอลองมาคำนวนดูแล้ว น่าจะเข้าใจมากขึ้นใช่ใหมครับ

  2. #2
    Administrator
    Join Date
    Sep 2010
    Posts
    1,791
    CASE STUDY 3 ซื้อกองทุนหลังปันผล เพื่อให้ได้ราคาถูกลง จริงหรือ?
    CASE STUDY นี้ไม่ได้มีการหักภาษีเงินปันผลเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
    โดยติต่างว่า SET Index หรือหน่วยอ้างอิง NAV ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงราคาใดๆในวันที่ 2012-03-01 และ 2012-03-02
    และสมมุติให้มีการซื้อหน่วยลงทุน แล้วทำการขายหน่วยลงทุนเวลาสินปี

    กองทุน A ในหนึ่งปี จ่ายปันผลออกมาดังนี้
    2012-03-01 1 บาท
    วันที่ 2012-03-01 NAV ของหน่วยลงทุน A มีค่า 20 บาท
    วันที่ 2012-03-02 NAV ของหน่วยลงทุน A มีค่า 19 บาท
    พอสิ้นปี NAV ของกองทุน A กลายเป็น 30 บาท

    ถามว่า ถ้าซื้อหน่วยลงทุนหลังปันผลคือวันที่ 2012-03-02 จะสามารถซื้อหน่วยลงทุนได้ถูกกว่าการซื้อหน่วยลงทุนก่อนปันผลหรือเปล่า
    เพราะราคาต่อหน่วยถูกกว่า ทำไห้ได้จำนวนหน่วยลงทุนมากกว่า
    คำตอบคือผิดครับ เพราะถึงเราจะซื้อก่อนปันผล แต่เราก็ยังได้เงินปันผลคืนมาเท่ากับมูลค่าส่วนต่างที่เราซื้อหน่วยลงทุนไปอยู่ดี ซึ่งทำให้ต้นทุนการซื้อหน่วยลงทุน เท่ากัน

    ซื้อก่อนปันผล 20 บาท ปลายปีขายได้ 30 คิดเป็นผลกำไร 10 บาท บวกเงินปันผลรวม 1 บาท กลายเป็นผลตอบแทนรวม 11 บาท
    ซื้อหลังปันผล 19 บาท ปลายปีขายได้ 30 คิดเป็นผลกำไร 11 บาท ไม่ได้เงินปันผล กลายเป็นผลตอบแทนรวม 11 บาท เท่ากัน
    ปล. ในความเป็นจริงคุณจะต้องเสียภาษีเงินปันผลด้วย จึงทำให้การซื้อหลังปันผลได้ประโยชน์กว่า

  3. #3
    Administrator
    Join Date
    Sep 2010
    Posts
    1,791
    แถม CASE STUDY เกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผลของกองทุน

    สูตรการคำนวนผลตอบแทนรวมคือ
    (หน่วยลงทุนของปีล่าสุด + (เงินปันผลทั้งหมด - ภาษี)) - หน่วยลงทุนของปีที่ต้องการเปรียบเทียบย้อนหลัง = capital gain + เงินปันผลรับจริง

    ตัวอย่างวิธีคำนวนอย่างละเอียด เผื่อใครสงสัยว่ามีวิธีคำนวนผลตอบแทนยังไงนะครับ (ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้ที่ http://www.thaimutualfund.com/AIMC/aimc_navCenter.jsp)

    ======================================================
    HI-DIV
    2013-01-04 | 11.4821 << NAV ปัจจุบัน
    2010-01-04 | 11.9903 << NAV ย้อนหลัง
    ================= ตารางเงินปันผล ==========================
    2010-01-22 | dividend = 1.50 | total_div = 1.5
    2010-04-29 | dividend = 0.50 | total_div = 2
    2010-07-30 | dividend = 1.00 | total_div = 3
    2010-10-20 | dividend = 1.25 | total_div = 4.25
    2011-02-11 | dividend = 1.17 | total_div = 5.42
    2011-05-04 | dividend = 1.40 | total_div = 6.82
    2012-02-13 | dividend = 0.70 | total_div = 7.52
    2012-04-05 | dividend = 1.00 | total_div = 8.52
    2012-07-23 | dividend = 0.65 | total_div = 9.17
    2012-09-20 | dividend = 0.75 | total_div = 9.92
    2012-12-17 | dividend = 0.75 | total_div = 10.67
    ======================================================
    รวมเงินปันผล = 10.67
    คำนวนตามสูตร
    (11.4821 + (10.67 - 10%)) - 11.9903 = 9.0948
    คิดผลตอบแทนเป็น เปอเซ็น
    (9.0948 x 100) / 11.9903 = 75.8513 %
    ======================================================
    ======================================================
    KFSDIV
    2013-01-04 | 15.6869 << NAV ปัจจุบัน
    2010-01-04 | 10.4448 << NAV ย้อนหลัง
    ================= ตารางเงินปันผล ==========================
    2010-02-12 | dividend = 0.30 | total_div = 0.3
    2010-05-17 | dividend = 0.50 | total_div = 0.8
    2010-08-11 | dividend = 0.50 | total_div = 1.3
    2010-11-08 | dividend = 1.00 | total_div = 2.3
    2011-02-14 | dividend = 0.50 | total_div = 2.8
    2011-05-13 | dividend = 0.50 | total_div = 3.3
    2011-08-11 | dividend = 0.50 | total_div = 3.8
    2011-11-10 | dividend = 0.50 | total_div = 4.3
    2012-02-14 | dividend = 0.50 | total_div = 4.8
    2012-05-14 | dividend = 0.50 | total_div = 5.3
    2012-08-10 | dividend = 0.50 | total_div = 5.8
    2012-11-08 | dividend = 1.00 | total_div = 6.8
    ======================================================
    รวมเงินปันผล = 6.8
    คำนวนตามสูตร
    (15.6869 + (6.8 - 10%)) - 10.4448 = 11.3621
    คิดผลตอบแทนเป็น เปอเซ็น
    (11.3621 x 100) / 10.4448 = 108.7824 %
    ======================================================

    CASE STUDY ด้านบน สมมุติว่านักลงทุน ได้ลงทุนในกองทุนย้อนหลังกลับไปเมื่อสามปีที่แล้วในทั้งสองกองทุนเท่าๆกัน พอในปัจจุบันได้ทำการสั่งขายกองทุนทั้งสองกองพร้อมๆกัน เมื่อนำผลตอบแทนมาเทียบกัน จะมีวิธีคำนวนตังตารางด้านบน

    จากการคำนวน จะเห็นว่าเงินปันผลรวมของ HI-DIV เยอะกว่า KFSDIV เกือบเท่านึง
    แต่... พอคำนวน performance จริงๆ กลับออกมาน้อยกว่าพอสมควร

    นี่คือสาเหตุที่ผมบอกว่า ไม่ควรมองไปที่จำนวนเงินที่ปันผลเพียงอย่างเดียว
    การปันผลออกมาเยอะ ไม่ได้เป็นข้อบ่งชี้ว่ากองทุนนั้น ทำผลงานได้ดีกว่าอีกกอง...
    ทั้งนี้การคำนวนดังตัวอย่าง ไม่ได้คำนวนถึงวิธีการ reinvest เมื่อได้เงินปันผลกลับมา ซึ่งแน่นอนว่าการปันผลออกมามากกว่า ย่อมมีผลต่อ performance ของกองทุน

Posting Permissions

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •