CASE STUDY 5 การปันผลออกมา ดีกว่าการสั่งขายกองทุนออกมาเอง จริงหรือ?
ติต่างว่า กองทุน A และ B ทั้งสองกองทุน เริ่มขายหน่วยลงทุนวันที่ 2012-01-01
โดยขายหน่วยลงทุน หน่วยละ 10 บาทเท่ากัน สมมุติให้ค่าธรรมเนียมขายกองทุน A และ B คือ 1% เท่าๆกัน และทั้งสองกองทุน ไม่มีค่าธรรมเนียมซื้อ
ทั้งนี้ CASE STUDY นี้ต้องการคำนวนเกี่ยวกับการปันผล เลยจำเป็นต้องแสดงผลต่างที่ถูกหักภาษีจากการปันผล และค่าธรรมเนียมขายไปด้วย
โดยมีการลงทุนโดยซื้อหน่วยลงทุนทั้งสองกองทุนโดยลงทุนกองละ 1000 บาท และจัดการดังนี้


กองทุน A เป็นกองทุนที่ไม่มีการปันผล
ซื้อหน่วยลงทุนราคา 10 บาท ได้จำนวน 100 หน่วย
2012-06-01 NAV ราคา 15 บาท
เวลาสิ้นปี 2012 NAV ของหน่วยลงทุน A คือ 20 บาท


กองทุน B เป็นกองทุนปันผล
ซื้อหน่วยลงทุนราคา 10 บาท ได้จำนวน 100 หน่วย
2012-06-01 กองทุนปันผลออกมา 5 บาท NAV ลดลงเหลือ 10 บาท (จากก่อนปันผล 15 บาทเท่ากองทุน A)
ใด้เงินปันผลเท่ากับ 100 x 5 = 500 บาท หักภาษีเงินปันผล 10% จะได้เงินจริงเท่ากับ 450 บาท
เวลาสิ้นปี 2012 NAV ของหน่วยลงทุน A คือ 13.33 บาท (ดูวิธีคำนวนจาก case study 4)


ถามว่าซื้อกองทุน B ดีกว่าหรือเปล่า เพราะไม่ต้องมานั่งขายกองทุนเอง และได้เงินปันผลมาฟรีๆ?
คำตอบคือไม่ครับ การขายกองทุนออกมาเองเสียค่าธรรมเนียมน้อยกว่าเสียภาษีปันผลเยอะครับ


เพราะอะไร?
ยกตัวอย่างนะครับ ถ้าคุณต้องการเงินออกมาใช้จ่ายเท่าๆกับกองทุน B ปันผลออกมาหักภาษีคือ 450 บาท
ราคาขายคืนหน่วยลงทุน A จาก 15 บาท หักค่าธรรมเนียมขาย 1% เป็น 14.85 บาท
คุณก็ต้องขายกองทุน A ออกมา 450 / 14.85 = 30.31 หน่วย (ผมปัดหน่วยขึ้นพื่อให้ใด้จำนวนเกิน 450)
ซึ่งจะเท่ากับว่ากองทุน A เหลือหน่วยลงทุนแค่ 100 - 30.31 = 69.69 ตอนสิ้นปี


ทีนี้ลองมาคำนวนผลตอบแทนถ้าเกิดนำกองทุนทั้งสองกองมาขาย ตอนสิ้นปี
ราคาขายคืนหน่วยลงทุน A จาก 20 บาท หักค่าธรรมเนียมขาย 1% กลายเป็น 19.8 บาท
กอง A 69.69 x 19.8 = 1379.862 บาท
ราคาขายคืนหน่วยลงทุน B จาก 13.33 บาท หักค่าธรรมเนียมขาย 1% กลายเป็น 13.20 บาท
กอง B 100 x 13.20 = 1320 บาท


จะเห็นว่าแม้กองทุน B เหลือหน่วยลงทุนสิ้นปี มากกว่ากองทุน A แต่ไม่ได้หมายความว่ามูลค่าที่เหลือของกองทุน B จะมากกว่าไปด้วย