ไม่ขอสรุปว่าแบบใหนดีกว่าละกันนะครับ ผมให้ข้อมูลเพิ่มเติมละกัน

หนังสือ The Little Book that Beats the Market
http://www.poslovni.hr/media/PostAtt...e%20Market.pdf
วิธีกรองแบบย่อๆจาก wiki นะครับ (การปรับพอรท์ ให้นับจากวันที่เริ่มลงทุนนะครับ)
https://en.wikipedia.org/wiki/Magic_formula_investing


งานวิจัยอย่างย่อของ ดร.ไพบูลย์
ภาษาอังกฤษ http://www.bizresearchpapers.com/1.%20Paiboon.pdf
ภาษาไทย http://mba.nida.ac.th/images/stories...al16/P5-25.pdf

คัดลอกบางส่วนมาจากงานวิจัยนะครับ
2. In his book, The Little Book That Beats the Market (2006), Greenblatt ranked stocks according to their ROA and P/E ratios and selected the first 30 stocks with the lowest sum of the ranks to form the value portfolio.

สำหรับการศึกษาในประเทศไทยนั้น Supattarakul and Jongjaroenkamol [17] พบว่าความ สัมพันธ์ของผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นในอนาคตกับอัตราส่วนของราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (P/B) และอัตรา การเติบโตของกำไรในอนาคตกับอัตราส่วนของราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) Sareewiwatthana [18] พบว่า
ในระหว่างปี 1996-2010 อัตราส่วน 3 ตัวคือ P/E P/B ROE เมื่อใช้ร่วมกันในการเลือกหุ้น จะให้ผลตอบแทน ที่สูงกว่าอัตราเฉลี่ย Maneesilasan [19] และ Sareewiwatthana [20] และแสดงให้เห็นว่า ในระหว่าง ปี 1996-2010 และ 1999-2010 อัตราส่วนของ P/E หารด้วยอัตราการเติบโต หรือที่รู้จักกันในนามของ PEG สามารถใช้เลือกหุ้นและให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราเฉลี่ย และ Panyagometh [21] แสดงให้เห็นว่า ทฤษฎี การบริหารพอร์ตโฟลิโอยุคใหม่สามารถใช้ร่วมกับแนวคิดของการลงทุนแบบวีไอ และให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า อัตราเฉลี่ย Sareewiwatthana [22] ทำการศึกษาและพบวา่ระหว่างปี 2002-2012 การเลือกหุ้นด้วย P/E PEG PERG (PEG ปรับด้วยค่าความเสี่ยง) สามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราเฉลี่ย โดย P/E ให้ผลตอบแทน ที่ดีที่สุด


ROE กับ ROA จริงๆแล้วทั้งสองค่าคำนวณคล้ายกันมาก ต่างกันแค่ ROA จะรวมส่วนของหนี้สินเข้าไปด้วยเท่านั้นเองครับ
ทั้งนี้เราสามารถนำมาคัดกรองหุ้นต่ออีกชั้น โดยดูในส่วนของบการเงินในแต่ละลักษณะของกิจการ ว่าบางค่ามีค่าที่มากไปหรือน้อยไปหรือว่าเหมาะสมแล้ว เพิ่มเข้าไปในภายหลังใด้ครับ